6/06/2556

โวหารและภาพพจน์โวหาร

สำนวนโวหาร ๕ ชนิด คือ
             .   บรรยายโวหาร  คือกระบวนความเล่าเรื่องหรืออธิบายชี้แจงอย่างละเอียดแจ่มแจ้ง โวหารชนิดนี้ใช้กับเรื่อง เล่า ประวัติ ตำนาน รายงานจดหมายเหตุ หนังสือเรียน บทความสารคดี  บทความวิชาการ ฯลฯ
             พรรณนาโวหาร คือกระบวนความเล่าเรื่องเพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่านให้เกิดภาพพจน์มีอารมณ์คล้อยตามไปกับข้อความนั้นๆ โวหารชนิดนี้มักใช้กับเรื่องสดุดี ชมถิ่นฐานบ้านเมืองหรือธรรมชาติ บรรยายลักษณะรูปพรรณ สัณฐาน คุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ  รูปร่างหรือบุคลิกลักษณะของบุคคล
          เทศนาโวหารหรืออภิปรายโวหาร คือกระบวนความโน้มน้าวผู้อ่านให้เกิดความเห็นความเชื่อ เห็นดีเห็นงามไปกับข้อความนั้น โวหารชนิดนี้ใช้กับเรื่องที่เป็นคำสอน โอวาท การอภิปราย ชักชวนหรือโต้แย้ง
               อุปมาโวหาร คือกระบวนความเปรียบเทียบ ใช้แทรกในพรรณนาโวหาร เพื่อ
ช่วยให้ข้อความแจ่มชัดคมคาย
          สาธกโวหาร คือกระบวนความที่ยกอุทาหรณ์หรือตัวอย่างประกอบ เพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น นิยมแทรกในเทศนาโวหารและอธิบายโวหาร

การใช้ภาพพจน์โวหาร
      อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนกับสิ่งหนึ่ง การเปรียบเทียบด้วยวิธีนี้ จะมีคำแสดงความหมายอย่างเดียวกับคำว่าเหมือนปรากฏอยู่ด้วย เช่น เสมือน,ดุจ,ประดุจ,ดั่ง,กล,ปูน,เพียง,ราว เป็นต้น ตัวอย่างเช่นมลิวัลย์พันกอพฤกษาดาด เหมือนผ้าลาดขาวลออน้องเอ๋ยข้อความเอียง คือข้อความอุปมา
       ๒อุปลักษณ์ คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง การเปรียบเช่นนี้ไม่มีคำเหมือนหรือคำ อื่นที่มีความหมายนัยเดียวกันปรากฏอยู่ แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการกล่าวเปรียบเทียบ ทำให้ภาษาที่ใช้ สั้นกระชับสื่อความหมายได้แจ่มแจ้ง
      ตัวอย่าง
      ราตรี เพ็ญ ๑๕ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขปุณณมี กว่ายี่สิบห้าศตวรรษมาแล้ว ดวงประทีปแห่งโลกได้ดับลงรัศมีแห่งดวงประทีปนั้นยังคงฉายแสงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้และ ยังจะเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไปอีกนานเท่านานวลี ดวงประทีปแห่งโลก คือ อุปลักษณ์
      ๓บุคคลวัต คือ การสมมุติสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีอากัปกิริยาและความคิดอย่างมนุษย์ สามารถกระทำพฤติกรรม มีความรู้สึก มีอารมณ์เหมือนมนุษย์ เช่นธรรมชาติรอบข้างต่างสลดหมดความคะนองทุกสิ่งทุกอย่างวลี สลดหมดความคะนอง คือ บุคคลวัต
     .  อติพจน และอวพจน คือ การกล่าวผิดไปจากที่เป็นจริง การกล่าวเกินจริงหรือน้อยกว่าจริง มีปรากฏอยู่ในชีวิตตามปกติมีเจตนาเน้นข้อความที่กล่าวนั้นให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น ให้ความรู้สึกเพิ่มขึ้น การกล่าวเกินจริงหรือน้อยกว่าจริงมิใช่เรื่องกุขึ้นโดยไม่มีความจริงเชื่อมโยงถึง
ตัวอย่าง
           ร้อนแทบสุก
           เหนื่อยสายตัวเทียบขาด
           มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว
      ๕นามนัย คือ การใช้ชื่อส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่งแทนสิ่งนั้นๆ ทั้งหมดส่วนประกอบดังกล่าวกับสิ่งนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เช่นเพราะมัวหวงเก้าอี้จึงไม่ยอมวางแผนงานใหม่ๆ ที่เสี่ยงต่อความผิดพลาดคำว่าเก้าอี้ เป็นนามนัย
      ในกรณีที่ใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะภาวะบางประการร่วมกัน เช่น ใช้ ดอกไม้ แทน ผู้หญิง เพราะมีคุณสมบัติร่วมกัน คือ ความสวยงามและความบอบบาง ใช้ ราชสีห์ แทน ผู้มีอำนาจ เพราะทั้งราชสีห์ และผู้มีอำนาจต่างมีคุณสมบัติร่วมกัน คือ ความน่าเกรงขาม สิ่งที่ใช้แทนหรือสิ่งแทน ดังกล่าวนี้ เรียกว่า สัญลักษณ์
       อุปมานิทัศน คือ การใช้เรื่องราวหรือนิทานขนาดสั้นหรือขนาดยาวประกอบวิธีนี้เป็นการขยายหรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งในแนวความคิด หลักธรรมะ หรือ ข้อควรปฏิบัติที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่านผู้ฟัง
      ตัวอย่าง
      กาลครั้งหนึ่งมีชายตาบอด คน ไปพบช้างเชือกหนึ่ง พากันเข้าลูบคลำช้าง แล้ว กลับมาทุ่มเถียงกันว่า ช้างเหมือนกับอะไร
      ชายคนที่หนึ่งซึ่งคลำสีข้างช้างมา ตะโกนร้องบอกว่าช้างเหมือนกำแพง
      ชายคนที่สองได้คลำขาช้างมา เถียงเสียงดังว่าใครบอก ช้างเหมือนต้นไม้ต่าง หาก
      ชายคนที่สามซึ่งคลำงวงช้างมา เถียงคอเป็นเอ็นว่าพวกเจ้าผิดหมด ช้างเหมือน กับงูแท้ๆ
      ชายคนที่สี่ ซึ่งคลำงาช้างมา มั่นใจมากว่าช้างเหมือนกับหอกต่างหากจึงทั้ง เยาะทั้งหยันคนอื่นๆ ว่าไม่รู้จริง
      ชายคนที่ห้า นึกกระหยิ่มใจว่า เพื่อนทั้ง คนของตนช่างโง่เขลาเสียนี่กระไร ไม่รู้เสียเลยว่า ช้างเหมือนอะไร เพราะว่าตนได้ไปคลำช้างมากับมือของตนแท้ๆ รู้สึกว่า ช้างเหมือนพัดที่โบกสะบัดได้ ทั้งนี้เพราะชายคนนี้ได้คลำหูช้างมา จึงพูดด้วยความสมเพชว่าโธ่เอ๋ยเหมือนพัดแท้ๆ
      ชายคนสุดท้าย ก็แน่ใจในประสาทสัมผัสของตนอีกเช่นกันตะโกนด้วยเสียงอัน ดังว่าทุกคนผิดหมด ข้าสิรู้จริง ช้างเหมือนเส้นเชือกต่างหากเพราะชายคนสุดท้ายนี้ ได้ไปคลำหางช้างมา
      ทันใดนั้น ทุกคนต่างเคืองแค้นแน่นอก คิดว่าตนถูก ผู้อื่นผิดหมด จึงตรงเข้าต่อสู้ พันตูกัน
     ๗สัทพจน์ คือ การเลียนเสียงธรรมชาติ เช่นแมลงล้อมตอมว่อนเสียงหวี่วูเสียงหวี่วู เป็นเสียงของแมลงภู่ผึ้งที่บินตอมเกสรดอกไม้
     .  คำถามเชิงวาทศิลป คือ คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เพราะรู้คำตอบชัดเจนอยู่แล้ว เช่นดอกดังสีบานเย็นเห็นหรือไม่ในที่นี้นางลำหับถามมาลีคือดอกไม้เพียงเพื่อแสดงความพิศวงงงงวยถึงความงามของดอกไม้เท่านั้น